การโอนทรัพย์สิน

การโอนทรัพย์สิน

สำหรับการรับกรรมสิทธิ์ในการครอบครองทรัพย์สิน สามารถทำได้โดยการตกลงกับผู้ครอบครองธุรกิจหรือเจ้าของที่ และทำการลงนามในสัญญาโอนทรัพย์สินที่ระบุถึงทรัพย์สินแต่ละส่วนที่สามารถทำการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ได้ โดยการมีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้

 

  • หน่วยงานระดับกรมที่จะโอนทั้งหน่วยงานไปยังหน่วยงานใหม่
  • ให้โอนทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้  สิทธิ  และภาระผูกพันทั้งหมดไปยังหน่วยงานใหม่
  • ให้หน่วยงานเดิมจัดทำบัญชีทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้  สิทธิ  และภาระผูกพัน ทั้งหมด  ตามระเบียบของทางราชการให้เสร็จสิ้น
  • โอนบางส่วนของกรมไปยังหน่วยงานใหม่
  • ให้แยกโอนทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้  สิทธิ  และภาระผูกพันของแต่ละส่วนที่จะโอนไปยังหน่วยงานใหม่
  • ให้หน่วยงานเดิมจัดทำบัญชีทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้  สิทธิและภาระผูกพัน  ทั้งหมด โดยแยกบัญชีตามส่วนที่จะโอนตามระเบียบของทางราชการ

3)  โอนบางส่วนของกรมไปยังหน่วยงานใหม่ที่ยังไม่ได้จัดตั้ง

กรณีที่1  ถ้าหน่วยงานใหม่ ซึ่งยังไม่ได้จัดตั้งในวันที่ 1ตุลาคม 2545และคณะกรรมการอำนวยการฯ  มีมติให้ไป

ฝากไว้ที่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งก่อน (เช่น สำนักงานปลัดกระทรวงฯ) ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการโอนตามข้อ 2

กรณีที่2  ถ้าหน่วยงานใหม่ ซึ่งยังไม่ได้จัดตั้งในวันที่ 1ตุลาคม 2545และคณะกรรมการอำนวยการ มีมติว่ายัง

ไม่ต้องแยกไปอยู่หน่วยงานใด ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการโอนตามข้อ 1

คณะอนุกรรมการฯ คณะที่3ได้จัดประชุมครั้งที่ 2/2545เมื่อวันที่ 27สิงหาคม 2545เวลา 16.30น.  หลังจาก

ท่านประธานคณะอนุกรรมการชุดนี้ได้นำหลักเกณฑ์และวิธีการนำเสนอคณะกรรมการอำนวยการฯ คณะอนุกรรมการคณะที่ 3 ได้ตั้งข้อสังเกต

ไว้ดังนี้

  1. หน่วยงานไม่ดำเนินการส่งมอบ – รับมอบ ภายในกำหนดเวลา
  2. มีปัญหาข้อขัดแย้งในการส่งมอบ – รับมอบทรัพย์สิน
  3. วิธีการปฏิบัติ ซึ่งเป็นรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับระเบียบราชการ แนวปฏิบัติของ หน่วยงาน ความพร้อม และไม่มีคู่มือ

ในการปฏิบัติ

ดังนั้น จึงเป็นข้อเสนอของคณะอนุกรรมการชุดนี้ว่า อาจจัดทำคู่มือหรือแนวปฏิบัติ  เพื่อเป็นแนวทางในการทำงาน

ของหน่วยงานที่ส่งมอบและหน่วยงานที่รับมอบ ไม่เฉพาะกระทรวงศึกษาธิการเท่านั้น น่าจะเป็นคู่มือของหน่วยงานอื่น กระทรวงใหม่ที่จะ

เกิดขึ้นตามแนวปฏิรูประบบราชการในวันที่1ตุลาคม 2545

คณะอนุกรรมการจึงได้กำหนดแนวทางการโอนทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติของส่วนราชการดังนี้

  1. การเตรียมการ

ให้ทุกส่วนราชการทำบัญชีทรัพย์สิน อาคาร สถานที่ ทั้งหมด ทั้งมีมูลค่าทางบัญชี หรือไม่มีมูลค่าทางบัญชี ที่ยังคงสภาพ

การใช้งานอยู่ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535และตามแบบที่คณะอนุกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการโอน

ทรัพย์สินเห็นควรกำหนดเพิ่มเติม พร้อมทั้งตีราคาทรัพย์สินตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0528.2/ว33545ลงวันที่ 16พฤศจิกายน

2544ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30กันยายน 2545

  1. การส่งมอบ

ให้หัวหน้าส่วนราชการเดิมดำเนินการส่งมอบบัญชีทรัพย์สินให้หัวหน้าส่วนราชการใหม่ภายใน7วันทำการนับตั้งแต่

วันที่หัวหน้าส่วนราชการใหม่ได้รับการแต่งตั้ง ตามระเบียบสำนักนายก รัฐมนตรีว่าด้วยการรับส่งงานในหน้าที่ราชการ พ.ศ. 2524

  1. การดำเนินการหลังมอบ

ให้ส่วนราชการใหม่ดำเนินการตรวจนับ และจัดทำทะเบียนพัสดุ เพื่อจัดหมวดหมู่ พร้อมทั้งออกหมายเลขครุภัณฑ์

และแก้ไขเพิ่มเติม ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535ให้เสร็จสิ้นภายใน 30วันนับจากวันรับมอบ

  1. กรณีเกิดปัญหาในการโอน

ในกรณีที่หน่วยงานเดิมไม่สามารถส่งมอบทรัพย์สินให้หน่วยงานใหม่ และ/หรือมีปัญหาขัดแย้งในการส่งมอบ –

รับมอบทรัพย์สิน ให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลติดต่อของบริษัททีเอสแอล:

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นขอวีซ่าหรือขอบริการด้านกฎหมาย, กรุณาไปที่หน้าติดต่อเรา

นอกประเทศ: +662-026-1913

ในประเทศไทย: 02-026-1913

อีเมล์:Info@tslthailand.com

How can we help you?

Visit us at our TSL Office in Bangkok or contact us by phone or on-line message at: