ข้อพิพาททาวการค้า

ข้อพิพาททาวการค้า

ตามความตกลงจัดตั้งองค์การการค้าโลก และความตกลงอื่นฯ ภายใต้องค์การการค้าโลก ประเทศสมาชิกมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไป

และสอดคล้องกับความตกลงดังกล่าว ตลอดจนข้อผูกพันที่ประเทศสมาชิกนั้นทำไว้กับองค์การการค้าโลก หากมีข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกเกิดขึ้น เมื่อประเทศสมาชิกหนึ่งเห็นว่าหรือเชื่อว่า รัฐบาลของประเทศสมาชิกอื่น ละเมิดความตกลงหรือข้อผูกพันที่ตกลงยอมรับไว้ องค์การการค้าโลก องค์การการค้าโลกถือเป็นภาระหน้าที่ที่สำคัญที่จะต้องแก้ไขปัญหาระงับข้อพิพาทดังกล่าว โดยกลไกการระงับข้อพิพาทที่องค์การการค้าโลกถือว่าแข็งขันมากที่สุดในโลกคือ กลไกระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก WTO Dispute Settlement ซึ่งมีการจัดตั้งองค์กรระงับข้อพิพาทขึ้น( Dispute Settlement body) เพื่อบริหารกฎและกระบวนการระงับข้อพิพาท และมีขั้นตอนการและกระบวนการในการระงับข้อพิพาท เป็นไปตาม ภาคผนวก2 ความเข้าใจว่าด้วยกฎและกระบวนการที่ใช้กับการระงับข้อพิพาท

กระบวนการระงับข้อพิพาทมีขั้นตอนโดยสรุปคือ เมื่อประเทศสมาชิกเห็นหรือเชื่อว่าประเทศสมาชิอื่นละเมิดความตกลงหรือข้อผูกพัน ก็จะยื่นเรื่องต่อองค์การระงับข้อพิพาท ขอให้มีการปรึกษาหารือเรื่องที่มีการละเมิดความตกลงดังกล่าว ขั้นตอนต่อไปคือ ถ้าประเทศสมาชิกผู้ฟ้องร้อง ร้องขอโดยทำเป็นหนังสือให้มีการตั้งคณะผู้พิจารณา ก็จะมีการตั้งคณะพิจารณาขึ้นพิจารณาดำเนินการตามกระบวนการต่อไป เมื่อผลการพิจารณาเป็นประการใด จะ เสนอผลการพิจารณาให้ให้คู่กรณีและองค์กรระงับข้อพิพาท คู่กรณีที่ไม่พอใจผลการพิจารณา สามารถอุทธรณ์ ต่อองค์กรอุทธรณ์ได้ ถ้าผลการ พิจารณาขององค์กรอุทธรณ์ เสนอและชี้ขาดให้สมาชิกฝ่ายที่ถูกฟ้องร้องต้องปฏิบัติตาม โดยให้ยกเลิกหรือแก้ไขการกระทำที่เป็นการละเมิดเสีย ถ้าสมาชิกที่ถูกฟ้องร้องไม่สามารถกระทำหรือจะไม่กระทำตามคำชี้ขาด สมาชิกผู้ฟ้องร้อง อาจขอให้มีการเจรจาชดเชยค่าเสียหายตามที่จะตกลงกันเป็นพอใจของทั้งสองฝ่าย หากพ้นระยะเวลาที่กำหนด ยังไม่มีการดำเนินการใดฯ จากประเทศที่ถูกฟ้องร้อง สมาชิกที่เป็นฝ่ายฟ้องร้องอาจขออนุมัติจากองค์การระงับข้อพิพาท ตอบโต้ประเทศที่ถูกฟ้องร้อง โดยกำหนดมาตรการทางการค้าอย่างใดอย่างหนึ่งกับประเทสที่ถูกฟ้องร้องตามกรอบข้อ22 ของ ภาคผนวก2 ความเข้าใจว่าด้วยกฎและกระบวนการที่ใช้กับการระงับข้อพิพาท ทั้งนี้กระบวนการระงับข้อพิพาทตามขั้นตอนดังกล่าวแต่ละขั้นตอนมีกรอบระระยะเวลากำหนดไว้ด้วย

 

จากกรณีประธานาธิบดีสหรัฐ ใช้มาตรการปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ทางการค้าของสหรัฐ โดยใช้มาตรการฝ่ายเดียวขึ้นภาษีสินค้านำเข้า เช่น การกล่าวหาจีนปฏิบัติไม่เป็นธรรมต่อสหรัฐ มีประกาศเมื่อเดือน มี.ค.2561 ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็นการตอบโต้มูลค่า6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ต่อมาเมื่อเดือน เม.ย. 2561 จีนทำสงครามการค้าตอบโต้ ประกาศกำหนดอัตราภาษีศุลกากรสินค้านำเข้าจากสหรัฐ รวม128 รายการ 25% มูลค่าประมาณ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ

เมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2561 สหรัฐ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมีเนียม จากสหภาพยุโรป แคนนาดา เม็กซิโก โดยขึ้นภาษีเหล็กเป็น 25% อลูมีเนียม 10% ทำให้เม็กซิโก แคนนาดา และสหภาพยุโรป ประกาศจะตอบโต้ กับการที่สหรัฐขึ้นภาษีดังกล่าว โดยเรียกมาตรการการขึ้นภาษีดังกล่าวว่า เป็นลัทธิปกป้อง โดยผู้แทนทางการค้าของสหภาพยุโรป แถลงว่า เป็นวันที่เลวร้ายของการค้าโลก สหภาพยุโรปไม่มีทางเลี่ยง จะต้องนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาขององค์การการค้าโลก ขณะเดียวกันก็จะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐเป็นการตอบโต้ด้วย ล่าสุดจีนก็ทำสงครามการค้าตอบโต้สหรัฐอีกโดยประกาศรายชื่อสินค้านำเข้าจากสหรัฐ รายการใหม่อีก 659 รายการ มูลค่า 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยขึ้นภาษีนำเข้า 25%

 

กรณีที่สหรัฐขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมีเนียม บัดนี้ได้ เข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลกแล้ว ทั้งนี้ตามข้อมูลขององค์กรระงับข้อพิพาท เม็กซิโก แคนนาดา สหภาพยุโรป ได้ยื่นคำขอเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทตามขั้นตอนขั้นแรก คือขอให้มีการปรึกษาหารือกับสหรัฐอ โดยมีข้อกล่าวหาว่าสหรัฐ ละเมิดความตกลงแกตต์ 1944 และความตกลงเรื่องมาตรการปกป้องหลายข้อ และความตกลงจัดตั้งองค์การการค้าโลก ข้อ 16 เม็กซิโกยื่นคำขอเมื่อ 31 พ.ค. 2561 แคนนาดา และสหภาพยุโรป ยื่นเมื่อ 1 มิ.ย.2561 มีจีน ญี่ปุ่น ที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากส่งสินค้าที่มีปัญหาไปสหรัฐด้วยเช่นกัน ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมปรึกษาหารือด้วย โดยผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก แถลงว่า อาจนำคำร้องของเม็กซิโก แคนนาดา และสหภาพยุโรป รวมการพิจารณาเข้าด้วยกัน

 

ขั้นตอนการปรึกษาหารือมีเวลา 60 วัน ต้องดูท่าทีสหรัฐว่า จะเข้าร่วมปรึกษาหารือหรือไม่ และผลจะเป็นอย่างไร หากสหรัฐไม่เข้าร่วมปรึกษาหารือหรือผลการหารือไม่เป็นที่ยอมรับ ขั้นตอนต่อไปฝ่ายประเทศที่ฟ้องร้อง ก็จะขอให้มีการแต่งตั้งคณะพิจารณาขึ้นพิจารณาเรื่องนี้ ขั้นตอนนี้มีกรอบระยะเวลาประมาณ 6 – 9 เดือน ในการที่คณะพิจารณาจะรายงานผลการพิจารณาเสนอที่ประชุมคณะกรรมการระงับข้อพิพาท พิจารณา ซึ่งไม่ว่าผลการพิจารณาของคณะพิจารณาจะออกมาเป็นประการใด คงมีการยื่นอุทธรณ์ต่อองค์กรอุทธรณ์แน่ ขั้นตอนนี้ยังมีช่องทางเจรจาประนีประนอม จะเสนอให้มีการตั้งนุญาโตตุลาการขึ้นพิจารณาก็ได้

ถ้าผลที่สุดองค์กรอุทธรณ์รายงานชี้ขาดว่า สหรัฐไม่ได้ละเมิดข้อตกลง และคณะกรรมการระงับข้อพิพาทรับรองรายงานดังกล่าว ฝ่ายผู้ฟ้องร้องก็คงไม่อยู่นิ่ง ก็คงทำสงครามตอบโต้สหรัฐต่อไป และอาจเข้มข้นขึ้น ในทางกลับกันถ้าชี้ขาดว่าสหรัฐละเมิดข้อตกลงถ้าสหรัฐยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาด ข้อพิพาทยุติ สงครามการค้าคงบรรเทาลง แต่ถ้าสหรัฐไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาด ประเทศผู้ฟ้องร้องมีสิทธิ์ร้องขอต่อองค์กรระงับข้อพิพาท ตอบโต้สหรัฐตามกรอบของข้อ22 ของภาคผนวก2ความเข้าใจว่าด้วยกฎและกระบวนการที่ใช้กับการระงับข้อพิพาท ซึ่งก็จะเป็นสงครามการค้าที่ชอบด้วยกฎกติกาขององค์การการค้าโลก

ข้อมูลติดต่อของบริษัททีเอสแอล:

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นขอวีซ่าหรือขอบริการด้านกฎหมาย, กรุณาไปที่หน้าติดต่อเรา

นอกประเทศ: +662-026-1913

ในประเทศไทย: 02-026-1913

อีเมล์:Info@tslthailand.com

How can we help you?

Visit us at our TSL Office in Bangkok or contact us by phone or on-line message at: