สิทธิการปกครองและดูแลบุตร

สิทธิการปกครองและดูแลบุตร

หลังจากการหย่าร้าง สิทธิการดูแลนั้นถือเป็นปัญหาแรกๆสำหรับหลายคู่สมรส

หากเป็นบุตรนอกสมรสก็จะยิ่งมีความซับซ้อนยิ่งขึ้นเพราะหลายปัจจัยที่อยู่นอกบัญญัติของการสมรส

โดยส่วนมาก กันไกล่เกลี่ยถึงปัญหาการดูแลบุตร จะเกี่ยวกับการจ่ายค่าดูแลบุตรและหน้าที่ของผู้ปกครองว่าใครต้องทำอะไร

 

TSLมีความเชี่ยวชาญอย่างมากในการจัดการปัญหาการปกครองบุตรหลังการหย่าร้าง

การแยกทางกันและบุตร ควรทำอย่างไร

เมื่อแยกทางกัน คุณและอดีตคู่ครองของท่าน จะต้องมีการตัดสินใจที่สำคัญบางประการ เกี่ยวกับการดูแลลูกๆของท่านในอนาคต

กฎหมาย Family Law Act 1975 คือกฎหมายที่กำหนดว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับครอบครัวที่กำลังแตกแยก เกี่ยวกับการหย่าร้าง การตระเตรียมการเลี้ยงดูบุตร การดูแลทรัพย์สินและคู่สมรส

กฎหมายนี้กล่าวว่า เป็นสิ่งสำคัญสำหรับลูกๆ ที่จะมีความสัมพันธ์ที่มีความหมาย กับทั้งพ่อและแม่ และกับผู้อื่น ที่มีความสำคัญในชีวิตของพวกเขา (เช่น ปู่ย่าตายาย) หากนี่เป็นผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของเด็ก และนอกจากว่า นี่จะเป็นการทำให้เด็กตกอยู่ในความเสี่ยงว่าจะถูกทำร้าย

กฎหมายบังคับให้บิดามารดา พยายามอย่างแท้จริง ที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องการเลี้ยงดูบุตร โดยมิต้องไปขึ้นศาล บิดามารดาได้รับการสนับสนุนให้ตกลงกันให้ได้ เกี่ยวกับการเตรียมการสำหรับลูกๆของตน และให้เข้าถึงบริการแก้ปัญหากรณีพิพาทในครอบครัว เช่น การไกล่เกลี่ยประนีประนอม เพื่อช่วยให้พวกเขาบรรลุข้อตกลงกันได้

 

การตระเตรียมการหลังการแยกทางกัน

หลังจากหย่าร้างกันแล้ว เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาเรื่องการเตรียมการด้านที่อยู่อาศัยสำหรับลูกๆ ของท่าน ซึ่งรวมถึง จำนวนเวลาที่ลูกๆ จะได้อยู่กับพ่อแม่ และวิธีที่ลูกๆ จะติดต่อกับพ่อแม่แต่ละคนด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นสิ่งสำคัญอีกด้วย ที่จะต้องพิจารณาว่า การตัดสินใจในอนาคตเกี่ยวกับลูกๆนั้นจะทำอย่างไร

ท่านสามารถพูดคุยกับทนายความ เพื่อขอคำแนะนำและความช่วยเหลือ เรื่องการเตรียมการที่ท่านสามารถทำได้ นอกจากนี้ ท่านและอดีตคู่ครองของท่านยังสามารถเข้าร่วมแก้ปัญหาการพิพาทในครอบครัว เช่นการไกล่เกลี่ยประนีประนอม ได้อีกด้วย

 

 

หนทางสำหรับปัญหาการรับดูแลบุตร

 

  1. การแก้ปัญหาการพิพาทในครอบครัวและการไกล่เกลี่ยประนีประนอมส่วนบุคคล

Mediation(การไกล่เกลี่ยประนีประนอม) คือกระบวนการที่ท่านและอดีตคู่ครองของท่าน สามารถมาพบกัน เพื่อพูดเกี่ยวกับการเตรียมการสำหรับลูกๆ ของท่าน กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นต่อหน้าบุคคลคนหนึ่ง ที่มีความเป็นกลาง และไม่ลำเอียง ที่เรียกว่า‘mediator’(ผู้ไกล่เกลี่ย) ผู้ไกล่เกลี่ยคนนี้ มิสามารถให้คำแนะนำแก่ท่าน หรือตัดสินใจแทนท่านได้  – หน้าที่ของเขาคือ ช่วยพ่อแม่ให้สามารถตกลงกันได้ ด้วยกัน

เมื่อท่านทั้งสองตกลงกันได้อย่างมีความสุข ข้อตกลงนั้นจะถูกบันทึกเอาไว้ ว่าเป็น’parenting plan’(แผนการเลี้ยงดูบุตร) หรือบันทึกไว้ใน‘consent orders’ (คำสั่งที่ศาลออกให้ตามความเห็นชอบร่วมกัน) ท่านควรขอคำแนะนำด้านกฎหมาย ก่อนที่จะลงชื่อในแผนการเลี้ยงดูบุตร หรือในคำสั่งที่ศาลออกให้ตามความเห็นชอบร่วมกัน

 

  1. คำสั่งที่ศาลออกให้ตามความเห็นชอบร่วมกัน

คำสั่งที่ศาลออกให้ตามความเห็นชอบร่วมกัน (Consent Order)เป็นข้อตกลงที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งได้รับอนุมัติจากศาล

คำสั่งนี้มีอำนาจตามกฎหมาย เช่นเดียวกับคำสั่งที่ศาลออกให้หลังการพิจารณาคดี ท่านและอดีตคู่ครองของท่าน สามารถขอคำสั่ง ที่ศาลออกให้ตามความเห็นชอบร่วมกันได้ โดยมิต้องไปศาล

 

2.1 การไปศาล

ถ้าคุณไม่สามารถตกลงกันได้ว่าจะตระเตรียมการอย่างไร คุณสามารถขอให้ศาลเป็นผู้ตัดสินเรื่องการเตรียมการเลี้ยงดูบุตรให้ท่านได้

ก่อนจะไปศาล คุณและอดีตคู่ครองของท่านต้องผ่านกระบวนการFamily Dispute Resolution(การแก้ไขกรณีพิพาทในครอบครัว)เช่น การไกล่เกลี่ยประนีประนอม(mediation)ที่กฎหมายบังคับมาแล้วศาลจะไม่ยอมรับคำร้องของท่านนอกจากท่านจะมีใบรับรองจากผู้ไกล่เกลี่ยประนีประนอมมาแสดงบางทีเงื่อนไขข้อนี้สามารถถูกเพิกถอนได้หากมีความกังวลเรื่องความรุนแรงในครอบครัวหรือการรังแกเด็ก

ข้อมูลติดต่อของบริษัททีเอสแอล:

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นขอวีซ่าหรือขอบริการด้านกฎหมาย, กรุณาไปที่หน้าติดต่อเรา

นอกประเทศ: +662-026-1913

ในประเทศไทย: 02-026-1913

อีเมล์:Info@tslthailand.com

How can we help you?

Visit us at our TSL Office in Bangkok or contact us by phone or on-line message at: