หนังสือมอบอำนาจ (POA) ในประเทศไทย

หนังสือมอบอำนาจ และใบมอบฉันทะ

การมอบอำนาจ เป็นเรื่องตัวความหรือผู้แทนของตัวความ (กรณีเป็นนิติบุคคล) มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินคดีแทน บุคคลผู้รับมอบอำนาจมีฐานะอย่างตัวความ มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใด ๆ ได้จนกว่าคดีจะเสร็จสิ้นหรือตามขอบเขตอำนาจที่ระบุในหนังสือมอบอำนาจ แต่จะว่าความหรือกระทำการอย่างทนายความไม่ได้

การมอบฉันทะเป็นเรื่องกรณีตัวความหรือทนายความมีเหตุไม่ไปติดต่อศาลด้วยตนเอง ก็มีอำนาจมอบหมายให้บุคคลใดไปติดต่อแทนได้ โดยต้องทำใบมอบฉันทะต่อศาลทุกครั้ง ใบมอบฉันทะนั้นทนายความมอบให้แก่เสมียนทนายได้

 

ตัวอย่างการมอบอำนาจในประเทศไทย

การมอบอำนาจ น่าจะเป็นความหมายที่ได้บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งย่อมหมายถึงการที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดที่มีอำนาจในทางกฎหมายในเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยชอบและมอบให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ใช้อำนาจนั้นแทนตนเอง เป็นการเฉพาะเรื่องหรือเป็นการทั่วไปภายในขอบเขตอำนาจที่ผู้มีอำนาจนั้นมีและภายในขอบเขตระยะเวลาที่กำหนดไว้  ซึ่งในทางเอกชนย่อมเป็นไปตามความหมายใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา ๗๙๗ บัญญัติไว้ว่า “ อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่งเรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการ และตกลงจะทำการ ดั่งนั้น อันความเป็นตัวแทนนั้นจะเป็นโดยตั้งแต่งแสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ย่อมได้” ซึ่งเป็นเรื่องที่ตัวการมอบอำนาจให้ตัวแทนเพื่อให้มีอำนาจทำการแทนตัวการและตัวแทนก็ตกลงจะรับมอบอำนาจนั้นซึ่งอาจจะตั้งแต่งแสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ได้ เรียกว่า “สัญญาตัวแทน”

ส่วนในกิจกรรมอันใดที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือก็ย่อมจะต้องทำเป็นหนังสือด้วยมาตรา ๗๙๘ บัญญัติไว้ว่า “กิจการอันใดท่านบังคับไว้โดยกฎหมายว่าต้องทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย กิจการอันใดท่านบังคับไว้ว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย”

มาตรา ๘๐๑ ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไป ท่านว่าจะทำกิจใด ๆ ในทางจัดการแทนตัวการก็ย่อมทำได้ทุกอย่าง แต่การเช่นอย่างจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านว่าหาอาจจะทำได้ไม่ คือ
(๑) ขายหรือจำนองอสังหาริมทรัพย์
(๒) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์กว่าสามปีขึ้นไป
(๓) ให้
(๔) ประนีประนอมยอมความ
(๕) ยื่นฟ้องต่อศาล
(๖) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา

 

คุณต้องการทนายความหรือไม่

TSLสามารถจัดเตรียมหนังสือมอบอำนาจที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจ นิติบุคคล หรือทางกฎหมายให้คุณได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ภายในเวลาทำการ 3-5 วัน

ทีมงานของเราทั้งชาวไทยและต่างชาติ ล้วยมีความสามารถในการติดต่อสื่อสารเพื่อนำมาซึ่งความราบรื่นในการออกเอกสารอย่างเป็นมืออาชีพ

หากคุณต้องการคำปรึกษาหรือคำชี้แนะที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายต่างชาติและในประเทศไทย ที่เกี่ยวข้องกับการออกหนังสือรับรองและใบฉันทะ คุณสามารถติดต่อเพื่อปรึกษาเราก่อนการตัดสินใจของคุณได้

ข้อมูลติดต่อของบริษัททีเอสแอล:

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นขอวีซ่าหรือขอบริการด้านกฎหมาย, กรุณาไปที่หน้าติดต่อเรา

นอกประเทศ: +662-026-1913

ในประเทศไทย: 02-026-1913

อีเมล์:Info@tslthailand.com

How can we help you?

Visit us at our TSL Office in Bangkok or contact us by phone or on-line message at: