คำสั่งขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน

คำสั่งขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน

 

“ผู้ร้ายข้ามแดน” หมายถึง บุคคลที่กระทำความผิดทางอาญาในประเทศหนึ่งประเทศใด แล้วหลบหนีออกจากประเทศที่ตนเองได้กระทำความผิด ซึ่งทำให้กฎหมายของประเทศนั้นๆ ไม่สามารถเอาผิดได้ ดังนั้นการสร้างหลักประกันในระดับนานาชาติ เพื่อให้บุคคลที่กระทำความผิดทางอาญาต้องถูกดำเนินคดีและลงโทษจึงเกิดขึ้น เรียกว่าเป็นหลักการของการส่งผู้ร้ายข้ามแดน โดยปกติแล้วการส่งผู้ร้ายข้ามแดนมักจะต้องมีสนธิสัญญาระหว่างกัน เรียกว่า สนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน” หรือ extradition treaty

 

อธิยายให้เข้าใจแบบง่ายๆ คือ เมื่อคนหนึ่งคน ก่อคดีฆ่าคนตาย หรือ คดีที่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงในประเทศไทย แล้วฉวยโอกาสช่องว่างหาทางหลบหนีออกไปซ่อนตัวอยู่ในต่างประเทศหรือต่างแดน, ต่างประเทศ,เมืองนอก จะเป็นการโดยสารเครื่องบิน หรือรถโดยสารผ่านออกไปตามแนวตะเข็บชายแดน รอดพ้นสายตาเจ้าหน้าที่รัฐ และเมื่อสืบทราบชัดเจนแล้วว่า ผู้ต้องหาคนดังกล่าว หลบหนีไปอยู่ในประเทศใด ทางการไทย ต้องประสานข้อมูลไปเพื่อให้ช่วยส่งตัวกลับ

 

ใครมีหน้าที่รับผิดชอบประสานส่งตัวคนร้ายกลับมา   

ผู้ที่รับผิดชอบทำเรื่อง ประสานส่งตัวคนร้ายข้ามแดนกลับมายังประเทศไทย คือ “อัยการสูงสุด” มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งระยะเวลาดำเนินการ ยาวนานถึง 1 เดือนขึ้นไป

ข้อยกเว้นของการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งกฎหมายเรื่องใด หากบ้านเขาไม่ถือว่าเป็นความผิดไม่ต้องส่งตัวกลับมาให้ไทยก็ได้ 

  1. ความผิดทางการเมือง(Political Offences)เพราะถือว่าไม่เป็นอาชญากรรมที่แท้จริง แต่เป็นเพียงการกระทำผิดเพราะมีแนวคิดไม่ตรงกับผู้มีอำนาจบริหารประเทศในขณะนั้น (แต่ในทางปฏิบัติยังไม่มีคำจำกัดความที่ชัดเจนของความผิดนี้)
  2. ความผิดต่อกฎหมายพิเศษเช่น ความผิดที่มีลักษณะเป็นความผิดต่อกฎหมายพิเศษในทางปกครอง ได้แก่ ความผิดกฎหมายการล่าสัตว์หรือกฎหมายป่าไม้ นอกจากนี้ยังรวมถึงความผิดต่อกฎหมายการพิมพ์ ความผิดต่อศาสนา ความผิดเกี่ยวกับกฎหมายทหาร เป็นต้น
  3. การไม่ส่งคนชาติตนข้ามแดน(Non-extradition of Nationals) ในประเทศกลุ่ม Civil Law จะไม่ส่งคนชาติของตนข้ามแดนไปดำเนินคดีในรัฐอื่น เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของรัฐในการปกป้องตนชาติของตนและอาจไม่มั่นใจในกระบวนการยุติธรรมของรัฐอื่น แต่ในประเทศกลุ่ม Common Law จะไม่มีการห้ามการส่งผู้ร้ายข้ามแดนแม้เป็นคนชาติของตน เพราะประเทศเหล่านี้ถือหลักว่า ผู้กระทำความผิด ณ ที่ใด จะต้องถูกพิจารณาคดี ณ ที่ที่กระทำความผิด
  4. ความผิดโทษประหารชีวิต(Death penalty) โดยเป็นไปตามสนธิสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน (United Nations Model Treaty on Extradition) มาตรา 4 (d) ซึ่งเป็นแม่แบบในข้อยกเว้นเรื่องความผิดโทษประหารชีวิต
  5. พยานหลักฐานไม่เพียงพอ(Insufficiency of Evidence) ซึ่งมีที่มาจากสนธิสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน (United Nations Model Treaty on Extradition) มาตรา 4 ซึ่งกำหนดข้อยกเว้นให้ประเทศภาคีสมาชิกสามารถปฏิเสธไม่ส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ หากพยานหลักฐานไม่เพียงพอตามมาตรฐานกฎหมายลักษณะพยานของประเทศผู้ถูกร้องขอ

 

ใครจะเป็นคนคุมตัวผู้ร้ายรายนั้นๆ ไปส่งยังประเทศที่เขาก่อเหตุ 

หากเจ้าหน้าที่ตำรวจประเทศไทยเป็นผู้ควบคุมตัวผู้ต้องหาจากชาติอื่นๆไว้ได้ ผู้ที่จะเป็นคนคุมตัวผู้ต้องหารายนี้กลับไปยังประเทศก่อเหตุ คือเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง หรือ ตม. (immigration) ส่วนจะมีจำนวนเจ้าหน้าที่กี่คนนั้น ขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของคดีที่ก่อเหตุ และวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ในการตัดสินใจ

ทำไมบางคดีสามารถส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนได้อย่างรวดเร็ว 

ในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับความสำคัญ และการเร่งด่วนของคดี รวมไปถึงการต่อรองเจรจา หากมีเหตุ มีผล และมีน้ำหนักเพียงพอให้ทำการเร่งรัด ก็อาจได้รับการพิจารณาให้ส่งตัวกลับเร็วเป็นพิเศษ

*** อย่างไรก็ตาม “การส่งผู้ร้ายข้ามแดน” เป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและอำนาจอธิปไตยของแต่ละรัฐ ซึ่งโดยปกติรัฐแต่ละรัฐย่อมไม่มีพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศที่จะต้องส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่รัฐอื่น แต่การส่งผู้ร้ายข้ามแดนเป็นกระบวนการหรือมาตรการความร่วมมือทางกฎหมายของประเทศต่างๆ ในการปราบปรามผู้กระทำความผิดในประเทศหนึ่งแล้วหลบหนีไปอยู่ในอีกประเทศหนึ่ง รวมถึงการกระทำความผิดที่เป็นอาชญากรรมในลักษณะเป็นองค์กรข้ามชาติ (Transnational Organized Crime)ให้สามารถที่จะส่งตัวไปดำเนินคดีในความผิดที่บุคคลนั้นได้กระทำลงไป

ข้อมูลติดต่อของบริษัททีเอสแอล:

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นขอวีซ่าหรือขอบริการด้านกฎหมาย, กรุณาไปที่หน้าติดต่อเรา

นอกประเทศ: +662-026-1913

ในประเทศไทย: 02-026-1913

อีเมล์:Info@tslthailand.com

How can we help you?

Visit us at our TSL Office in Bangkok or contact us by phone or on-line message at: