กฎมายทรัพย์สิน

กฎมายทรัพย์สิน

 ความหมายของทรัพย์และทรัพย์สิน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มรตรา 137 บัญญัติว่า “ทรัพย์หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง” และมาตรา 138 บัญญัติว่า “ทรัพย์สินหมายความว่ารวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้”

เพื่อให้เข้าใจความหมายของคำว่า ทรัพย์และทรัพย์สิน จำเป็นต้องพิจารณา มาตรา 137 และมาตรา 138 ประกอบกัน กล่าวคือ คำว่า “ทรัพย์” นอกจากจะหมายถึงวัตถุมีรูปร่งแล้วยังต้องเป็นวัตถุมีรูปร่งซึ่งอาจมีราคาได้และถือเอกได้ด้วย ส่วนคำว่า “ทรัพย์สิน” หมายถึงวัตถุมีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาได้และถือเอาได้ประการหนึ่ง และยังหมายถึงวัตถุ ไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาได้และถือเอาได้อีกประการหนึ่ง

จะเห็นได้ว่าในเมื่อทรัพย์เป็นทรัพย์สินส่วนหนึ่ง ทรัพย์จึงต้องเป็นวัตถุมีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาได้และถือเอาได้เช่นเดียวกัน

คำว่า “มีรูปร่าง” หมายถึง สิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตาจับต้องสัมผัสได้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ บ้าน เรือน

คำว่า “ไม่มีรูปร่าง” หมายถึง สิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา จับต้องสัมผัสไม่ได้ เช่น พลังงานปรมาณู,แก๊ส,กำลังแห่งธรรมชาติ และยังได้แก่สิทธิต่างๆเกี่ยวกับทรัพย์ เช่น กรรมสิทธิ์,ลิขสิทธิ์,สิทธิบัตร

คำว่า “อาจถือเอาได้” หมายถึง เพียงแต่อาจถือเอาได้เท่านั้น มีอาการเข้าหวงกันไว้เพื่อตนเอง ไม่จำเป็นต้องยึดถือจับต้องได้จริงจัง เช่น รังนกในถ้ำเมื่อผู้นั้นได้สัมปทานจากรัฐบาลย่อมมีอำนาจเข้าครอบครองถ้ำแสดงอาการหวงรังนก ก็เรียกได้ว่าอาจถือเอาได้หรือสิทธิบางอย่างแม้จะจับต้องมิได้ แต่ก็ยังอยู่ในลักษณะที่จะยึดถือหวงแหนไว้เพื่อตนเองได้ เช่น ลิขสิทธิ์,สิทธิในการเช่า,กระแสไฟฟ้า เป็นต้น

สิ่งสำคัญที่ต้องเน้นก็คือไม่ว่าจะเป็นวัตถุที่มีรูปร่างหรือไม่ก็ตาม จะเป็นทรัพย์สินได้ก็ต่อเมื่อ “อาจมีราคาและอาจถือเอาได้” ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่ถือเป็น ทรัพย์สิน เช่นมนุษย์เรา แม้จะมีรูปร่างแต่ก็ไม่อาจมีราคาซื้อขายกันได้ ฉะนั้นมนุษย์จึงไม่ใช่ทรัพย์ เมื่อมนุษย์ไม่ใช่ทรัพย์ย่อมไม่ทรัพย์สินด้วย แต่หากได้มีการแยกอวัยวะออกมาเป็นส่วนๆ จากร่างกาย เช่น ส้นผมหากได้ตัดไปขาย ตวงตาที่บุคคลขายหรืออุทิศแก่โรงพยาบาล ดังนี้ ย่อมมีราคาและถือเอาได้จึงเป็นทรัพย์สินได้

ประเภทของทรัพย์สิน

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งทรัพย์ออกเป็น 5 ประเภท

1) อสังหาริมทรัพย์

2) สังหาริมทรัพย์

3) ทรัพย์แบ่งได้

4) ทรัพย์แบ่งไม่ได้

5) ทรัพย์นอกพาณิชย์

1 ความหมายของอสังหาริมทรัพย์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 139 บัญญัติว่า “อสังหาริมทรัพย์หมายความว่า ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติด อยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย”

โดยพิจารณาแยกดังนี้

1.1 ที่ดิน

คือ พื้นดินทั่วๆ ไปที่มีอาณาเขต พึงกำหนดได้เป็นส่วนกว้างและส่วนยาว แต่ไม่รวมถึงดินทีขุดขึ้นมา แล้วย่อมไม่เป็นที่ดินต่อไป เป็นเพียงสังหาริมทรัพย์เท่านั้น

1.2 ทรัพย์อันติดกับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรได้แก่

1.2.1 ทรัพย์อันติดกับที่ดิน โดยธรรมชาติ เช่น ไม้ยืนต้นที่ปลูกลงในที่ดิน โดยไม้ยืนต้นนี้ส่วนใหญ่คือ พันธุ์ไม้ยืนต้นที่ปลูกลงในที่ดิน โดยไม้ยืนต้นนี้ส่วนใหญ่มีอายุยืนกว่า 3 ปี เช่น ต้นพูล,มะม่วง

1.2.2 ทรัพย์ที่ติดกับที่ดินโดยมีผู้นำมาติดไว้ เช่น ตึก สะพาน เจดีย์ อนุสาวรีย์ หอนาฬิกา โดยการนำมาติดกับที่ดิน เช่นนี้ต้อง เป็นการติดในลักษณะตรึงตราแน่นหนาถาวร แต่ไม่จำเป็นต้องติดอยู่กับที่ตลอดไป และหากมีการรื้อถอนจะทำทรัพย์นั้นเสีย หายทำให้บุบสลายเสียสภาพหรือเสียรูปทรง

การที่จะพิจารณาว่าเป็นทรัพย์ซึ่งติดอยู่กับที่ดินอันมีลักษณะเป็นถาวร ให้ดูที่สภาพว่ามีลักษณะติดอยู่กับที่ดินเป็นการถาวรหรือไม่ ไม่ใช่ไปดูที่เจตนาติดไว้นานแค่ไหน เช่า ร้านค้าที่ปลูกในงานมหกรรมต่างๆ ชั่วระยะที่มีงาน โดยมีการสร้างเป็นอย่างดี สามารถติดยู่เป็นการมั่นคงถาวร มีการขุดหลุมวางเสาคอนกรีต หรือใช้ไม้อย่างดีมาเป็นโครงสร้าง เป็นต้น แต่ผู้ปลูกสร้างมีเจตนาให้ติดอยู่กับที่ดินนี้เพียง 5วัน 10 วัน ตามระยะเวลางาน กรณีเช่นนี้ยังคงถือว่าร้านดังกล่าวเป็นอสังหาริมทรัพย์ด้วย

2.1.3 ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน

คือทรัพย์ที่ เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินบนพื้นโลกตามสภาพธรรมชาติ เช่น กรวด,ทราบ,แร่โลหะต่างๆ,ห้วย,หนอง,คลอง,บึง,ทะเลสาบ

1.4 ทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน

หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินทรัพยสิทธินี้ก็คือทรัพย์สิทธิที่กฎหมายก่อตั้งไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 นั้นเองไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ในที่ดินสิทธิอาศัยในโรงเรียน,สิทธิครอบครองในสระในที่ดินของเรา ย่อมเป็นอสังหาริมทรัพย์

2 ความหมายของสังหาริมทรัพย์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 140 บัญญัติว่า “สังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ และหมายความรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย”

มาตรา 140 นี้กำหนด ความหมายของอสังหาริมทรัพย์ เป็นบทปฏิเสธของความหมายของอสังหาริมทรัพย์ เพราะฉะนั้นอะไรก็ตามถ้าไม่เป็นอสังหาริมทรัพย์และจะต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ทั้งสิ้น เช่น นาฬิกา,โต๊ะ,รถยนต์ ตลอดจนสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย คำว่า “ทรัพย์สิน” ให้หมายรวมถึงทรัพย์และวัตถุมีรูปร่งซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ ดังนั้น คำว่าทรัพย์สินในมาตรา 140 นี้ต้องเอาความหมายนั้นมาพิจารณาด้วย

สิทธิในสังหาริมทรัพย์ที่มีรูปร่าง เช่น กรรมสิทธิ์ในรถยนต์เป็สิทธิกันเกี่ยวกับทรัพย์สินคือรถยนต์ ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ย่อมเป็นสังหาริมทรัพย์ด้วย

สิทธิในสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง สิทธิเหล่านี้ต้องเป็นสิทธิที่กฎหมายให้การรับรองแล้ว เช่น ลิขสิทธิ์,สิทธิบัตร สิทธิเหล่านี้เป็นทรัพย์สินซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ สิทธิเหล่านี้จึงเป็นสังหาริมทรัพย์

ประเภทของสังหาริมทรัพย์

ประเภทของสังหาริมทรัพย์ อาจแบ่งได้ เป็น 2 ประเภท คือ

2.2.1 สังหาริมทรัพย์ทั่วไป

สังหาริมทรัพย์ทั่วไป คือ ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ที่มี ลักษณะเคลื่อนที่ได้ด้วยแรงกำลังธรรมชาติ หรือโดยแรงกำลังกายภาพแห่งทรัพย์นั้น เช่น รถยนต์ ตู้เย็น พัดลม โทรทัศน์ จักรยาน

2.2 สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ

สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ คือ ทรัพย์อื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ที่มี กฎหมายได้กำหนดให้เป็นทรัพย์ในลักษณะพิเศษกว่าสังหาริมทรัพย์ทั่วไป อันได้แก่ เรือกำปั่นมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป แพ และสัตว์พาหนะ คือ ช้าง ม้า วัว ความ ลา ล่อ

สิ่งสำคัญคือในการทำนิติกรรมจำหน่ายจ่ายโอนสังหาริมทรัพย์จำต้องทราบด้วย ว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ประเภทใด เพราะหากเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษและจะต้องได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่เช่นเดียวกับกรณี การจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ด้วย

อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์มีลักษณะและผลของกฎหมายแตกต่างกันคือ

1) อสังหาริมทรัพย์

โดยเฉพาะที่ดินจะต้องมีเจ้าของเสมอ แต่สังหาริม ทรัพย์ไม่จำเป็นต้องมีเจ้าของเสมอไป

2) ทรัพยสิทธิบางอย่างจะก่อให้เกิดขึ้นได้ก็แต่ในอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น

เช่น ภาระจำยอม, สิทธิอาศัย, สิทธิเก็บกิน, สิทธิเหนือพื้นดิน, ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์

3) การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองทรัพย์

ที่เรียกว่าแย่งการครอบครอง หรือครอบครองปรปักษ์ นั้น มีอายุความได้สิทธิต่างกันโดยการได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์จะ มีระยะเวลายาวกว่าสังหาริมทรัพย์

4) แบบนิติกรรม

นิติกรรมเพื่อให้ได้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ต้องทำตามแบบ ส่วนสังหาริมทรัพย์โดยทั่วไปไม่จำต้องทำ

5) ในเรื่องแดนกรรมสิทธิ์

เฉพาะตัวที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์เท่านั้นมีกรรม สิทธิ์ทั้งเหนือพื้นดินและใต้พื้นดิน ส่วนสังหาริมทรัพย์นี้ไม่มีแดนกรรมสิทธิ์

6) สิทธิของคนต่างด้าว

ในการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมีกฎหมายบัญญัติควบคุมไว้ โดยไม่ให้คนต่างด้าวได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือถ้าได้ก็ต้องอยู่ในวงจำกัดแต่ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่มีกฎหมายอะไรควบคุมไว้

ข้อมูลติดต่อของบริษัททีเอสแอล:

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นขอวีซ่าหรือขอบริการด้านกฎหมาย, กรุณาไปที่หน้าติดต่อเรา

นอกประเทศ: +662-026-1913

ในประเทศไทย: 02-026-1913

อีเมล์:Info@tslthailand.com

How can we help you?

Visit us at our TSL Office in Bangkok or contact us by phone or on-line message at: