สัญญาก่อนการสมรส
สัญญาก่อนสมรสเป็นเอกสารสัญญาทางกฎหมายที่คู่สมรสลงนามผูกพันในสัญญาก่อนเข้าสู่การสมรส ซึ่งมีชื่อเรียกอื่นๆ ในภาษาอังกฤษว่า prenuptial agreement
สัญญาก่อนสมรสเป็นการจัดให้มีแผนทางการเงินซึ่งสามารถจัดการได้ผ่านวิถีทางการสมรสหรือเมื่อมีการแตกหักของการสมรส (ตัวอย่าง: การหย่าร้าง) สำหรับคนที่มีสินทรัพย์และทรัพย์สมบัติจำนวนมาก และปรารถนาที่จะควบคุมส่วนของสินทรัพย์เมื่อเกิดการหย่าร้าง เอกสารทางกฎหมายนี้มีประโยชน์มากสำหรับในกรณีนี้
ภายใต้ กฎหมายไทย (ดูมาตรา 1465 ขึ้นไป) สัญญาก่อนสมรสและสัญญาหลังสมรส เป็นสัญญา 2 ประเภทที่สามารถทำในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ระหว่างสามีและภรรยา
สัญญาก่อนสมรสไทยเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีและภรรยาที่ทำระหว่างกันและอยู่ภายใต้กฎหมายไทยเท่านั้น กฎหมายไทยเป็นขอบเขตข้อจำกัดของสัญญาก่อนสมรสและท่านจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของไทยเพื่อให้สัญญานี้มีผลทางกฎหมาย
สัญญาก่อนสมรสไทยที่ถูกต้องและมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายจำเป็นต้อง:
- ได้รับการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรในวันเดียวกันของการจดทะเบียนสมรสหรือ;
- เป็นสัญญาที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย
- ต้องมีพยานสองคน
- สัญญาดังกล่าวจะต้องได้รับการแนบเข้ากับใบสำคัญการสมรสที่มีการจดทะเบียนสมรส
เราสามารถร่างสัญญาตามที่ท่านกำหนดเองและแก้ไขสัญญาก่อนสมรส สัญญานี้จะถูกร่างขึ้นโดยทนายจดทะเบียนที่มีประสบการณ์ในด้านนี้ และมันจะสะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ส่วนบุคคลของท่าน ราคานี้เป็นราคาครึ่งหนึ่งของราคาปกติของสำนักงานกฎหมายต่างประเทศที่เรียกกับลูกค้า เราสามารถทำงานออนไลน์และจะอธิบายวิธีในการจดทะเบียนในทุกที่ของประเทศไทย หากท่านต้องการพบทนายความของเราแบบตัวต่อตัวจะเป็นความยินดีอย่างยิ่ง
ข้อจำกัดต่างๆของสัญญาก่อนสมรสมีดังนี้
1. ทั้งสองฝ่ายต้องแบไต๋หมดหน้าตักว่ามีทรัพย์สินอะไรบ้าง เพราะถ้าไม่แถลงให้หมด เมื่อถึงเวลาแบ่งทรัพย์สินกัน อาจจะเสียสิทธิในทรัพย์ที่ไม่ได้แจ้งนั้น
2. บางมลรัฐหรือประเทศไม่อนุญาตให้ทำสัญญาที่จำกัดหรืองดเว้นการให้ค่าเลี้ยงดูคู่สมรสที่ด้อยกว่า โดยเฉพาะหากคู่สมรสอีกฝ่ายเป็นคนร่ำรวย
3. ไม่สามารถสร้างเงื่อนไขเรื่องเงินเลี้ยงดูบุตรได้ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด
4. ในบางประเทศ เช่น สหรัฐ และคานาดา ไม่อนุญาตให้ทำสัญญาที่จำกัดสิทธิการเยี่ยมเยียนบุตร
5. ศาลสามารถบอกล้างสัญญาได้หากเห็นว่า หัวใจของสัญญานั้นเป็นการฉ้อฉล ตบตา ข่มขู่บังคับ หรือล่อลวงขืนใจ ให้อีกฝ่ายยอมตาม เช่น เจ้าบ่าวเอาสัญญามาให้เจ้าสาวเซ็นในคืนก่อนวันแต่งงาน เจ้าสาวอาจฟ้องว่าเป็นการข่มขู่หรือฝืนใจให้ โดยทั่วไปสัญญาควรเซ็นไม่น้อยกว่า ๓๐ วันก่อนส่งบัตรเชิญแต่งงาน
6. สัญญาจะบังคับใช้ไม่ได้ หากมีข้อกำหนดที่จะทำให้คู่สมรสอีกฝ่ายต้องสิ้นไร้ไม้ตอก
7. ต้องพูดเรื่องเงินๆ ทองๆ ของแสลงใจ ในช่วงที่ควรจะพูดแต่เรื่องความสุขของการสร้างชีวิตใหม่ เหมือนกับมีความไม่ไว้วางใจกัน และอาจเป็นเรื่องที่กัดกินใจตลอดชีวิตแต่งงานได้ เผลอๆ ทำให้เกิดการมองในแง่ร้าย เพราะต้องมาวางแผนการหย่าร้างพร้อมๆกับวางแผนการแต่งงาน
8. ต้องเหน็ดเหนื่อยและตึงเครียดกับการต่อรอง และต้องเสียเงินจ้างทนายความ
9. คู่สมรสฝ่ายหนึ่งอาจต้องสูญเสียสิทธิในกองมรดกของอีกฝ่าย ในกรณีเสียชีวิต ทั้งๆที่โดยทางกฎหมายแล้วคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่มีสิทธิที่จะได้รับ(บางส่วน)
10. คู่สมรสฝ่ายที่หนุนช่วยธุรกิจในทางอ้อม เช่น โดยการจัดเลี้ยงแขกของบริษัท หรือดูแลบ้านเรือนและเด็กๆเพื่อให้อีกฝ่ายทำงานได้อย่างเต็มที่ อาจไม่ได้สิทธิในมูลค่าเพิ่มของธุรกิจของอีกฝ่าย
11. หากเป็นการทำสัญญาระหว่างคู่แต่งงานต่างวัฒนธรรมต่างการศึกษา ข้อตกลงอาจไม่ใช่ประโยชน์ที่ดีที่สุดของฝ่ายซึ่งอาจจะไม่เข้าใจเจตนารมณ์และเนื้อหาแห่งสัญญาดีพอ
ประเทศที่สามารถรับรองสัญญาก่อนสมรสได้
ราชอาณาจักรไทย
ข้อตกลงก่อนสมรสภายในประเทศไทย จะช่วยยืนยันกันสมรสไว้อย่างแน่ชัดทั้งทางกฎหมายและทางสิทธิ เพื่อช่วยให้การสมรสของคุณมีความถูกต้องอย่างชัดเจนและเพื่อเลี่ยงปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในอนาคต
สหรัฐอเมริกา
ข้อตกลงก่อนสมรสสามารถยืนยันการสมรสอย่างแน่ชัดใน50รัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างบังคับสำหรับกว่า 26รัฐ เพราะฉะนั้นการออกสัญญาก่อนแต่งงานจะทำให้คุณสามารถผ่านการพิจารณาทางนิติบุคคลของสหรัฐได้อย่างสบายใจ
สหราชอาณาจักร
ถึงแม้ว่าสัญญาก่อนสมรสสำหรับสหราชอาณาจักรจะไม่ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากเท่ากับสหรัฐอเมริกา แต่เพื่อให้ราษฎรของสหราชอาณาจักรได้รับการรับรองสมรสอย่างถูกต้อง ก็ยังคงต้องใช้สัญญาก่อนการสมรสเพื่อเป็นหลักฐาน
ทวีปยุโรป
ในทวีปยุโรปสัญญาก่อนสมรสถือเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย เช่นในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี และเบลเยี่ยม ที่ทางหน่วยงานรัฐจะทำการยืนยันการสมรสหลังจากการตรวจสอบสัญญาก่อนสมรส
ออสเตรเลีย
ในประเทศออสเตรเลีย ได้มีการยอมรับสัญญาก่อนสมรสตั้งแต่ ปี1975ซึ่งถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนการรับรองก่อนและหลังสมรส
แคนาดา
ประเทศแคนาดาได่ยอมรับสัญญาก่อนสมรสเพื่อตรวจสอบในกรณีเกิดการขัดแย้งระหว่างคู่สมรสเป็นหลัก
ทั้งนี้ สามีภริยาจะทำสัญญาก่อนสมรสในเรื่องหนี้สินไม่ได้ เช่น สามีภริยาทำสัญญาก่อนสมรสว่าหนี้เกี่ยวแก่การศึกษาให้เป็นหนี้ส่วนตัวของสามี หรือหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกันให้เป็นหนี้ส่วนตัวของภริยา สัญญาก่อนสมรสเช่นนี้ไม่มีผลบังคับ หนี้ดังกล่าวยังคงเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นเดิม แต่ถ้าสามีภริยาทำสัญญาก่อนสมรสว่าในการชำระหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาต้องชำระหนี้นั้นด้วยสินสมรสก่อน เช่นนี้เป็นสัญญาในเรื่องทรัพย์สินเพราะเป็นการกำหนดให้ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาต้องรับผิดในหนี้จึงบังคับใช้ได้ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าหนี้ หากเจ้าหนี้เป็นบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต
การเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรส ต้องร้องขอต่อศาลให้อนุญาตเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้คู่สมรสที่อยู่กินจดทะเบียนกันแล้วซึ่งต่อไปอาจตกอยู่ใต้อิทธิพลของอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสฝ่ายที่เสียประโยชน์อาจถูกบีบบังคับให้เปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรส โดยเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ได้ เพื่อให้การคุ้มครองในเรื่องนี้ จึงต้องให้ศาลอนุญาต แต่สัญญาก่อนสมรสที่ได้ทำ และต้องการแก้ไขเปลี่ยนแปลง หากยังไม่มีการจดทะเบียนสมรส ย่อมแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
ในกรณีที่ผู้เยาว์จะทำการสมรสและประสงค์จะทำสัญญาก่อนสมรสในเรื่องทรัพย์สินไว้ด้วยนั้น สัญญาก่อนสมรสกับสัญญาทำการสมรสเป็นสัญญา 2 สัญญาที่แยกต่างหากจากกัน ฉะนั้น ผู้เยาว์จึงต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของตนให้ทำสัญญาก่อนสมรสเช่นเดียวกับที่ผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองให้ทำการสมรส