การฟ้องหย่า /การหย่าผ่านขั้นตอนศาล
- เรื่องการสมรสและการหย่านั้นมีกฎหมายบัญญัติรับรองอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5 ลักษณะ 1 หมวด 2 ว่าด้วยเงื่อนไขของการสมรส และหมวด 6 ว่าด้วยการสิ้นสุดแห่งการสมรส
- การสมรสของกฎหมายไทยจะต้องเป็นการสมรสของชายและหญิงเท่านั้น โดยสามีและภรรยาที่เป็นชายและ หญิงต้องมีอายุตั้งแต่ 17 ปีบริบูรณ์ เว้นแต่มีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดหรือมีกฎหมายอนุญาตให้สมรสได้ก่อนอายุ17 ปี ตามมาตรา 1448
- กฎหมายไทยในปัจจุบันยังไม่อนุญาตให้จดทะเบียนสมรสระหว่างเพศเดียวกันได้
- การสมรสตามกฎหมายไทย จะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ก็ต่อเมื่อได้ดำเนินการจดทะเบียนสมรสตาม กฎหมายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 1457
- การหย่านั้นมีได้ด้วยกัน 2 กรณีคือ การหย่าโดยความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย และการหย่าโดยคำ พิพากษาของศาล ตามมาตรา 1514 วรรคหนึ่ง
8.การหย่าโดยมีคำพิพากษา ต้องมีเหตุฟ้องหย่าก่อนดังต่อไปนี้ (มาตรา 1516)
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่าย หนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภรรยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไปหรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามี ภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจหรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือ บุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปีอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและได้ถูกจำคุกเกิน 1 ปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มี ส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน3 ปีหรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกิน 3 ปีโดยไม่มี ใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการ ที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินสมควรในเมื่อ เอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกิน 3 ปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความ วิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
- เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516(1) และ (2) ถ้าสามีหีรือภริยาแล้วแต่กรณี ได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจใน การกระทำที่เป็นเหตุหย่านั้น ฝ่ายที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ ตามมาตรา 1517 วรรคหนึ่ง
เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา1516(10) ถ้าเกิดเพราะการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะยกเป็นเหตุ ฟ้องหย่าไม่ได้ ตามมาตรา 1517วรรคสอง
ในกรณีฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุแห่งการผิดทันฑ์บนตามมาตรา1516(8) นั้น ถ้าศาลเห็นว่าความประพฤติ ของสามีหรือภริยาอันเป็นเหตุให้ทำทัณฑ์บนเป็นเหตุเล็กน้อยหรือไม่สำคัญเกี่ยวแก่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา โดยปกติสุข ศาลจะไม่พิพากษาให้หย่าก็ได้
- สิทธิฟ้องหย่าย่อมหมุดไปในเมื่อฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้กระทำการอันแสดงให้เห็นว่าได้ให้อภัยในการกระ ทำของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นเหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่านั้นแล้ว ตามมาตรา 1518
- ในกรณีหย่าโดยความยินยอม ให้สามีภริยาทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง บุตรคนใด ถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด ตามมาตรา 1520 วรรคหนึ่ง
ในกรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ให้ศาลซึ่งพิจารณาคดีฟ้องหย่านั้นชี้ขาดด้วยว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้ อำนาจปกครองบุตรคนใด ในการพิจารณาชี้ขาดถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรสนั้นได้ ตามมาตรา 1582 ศาลจะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรสและสั่งให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ปกครองก็ได้ ทั้งนี้ ให้ ศาลคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรนั้นเป็นสำคัญ ตามมาตรา 1520 วรรคสอง
ขั้นตอนการหย่า ที่ทนายความของเราจะช่วยเหลือคุณ
- 1. เตรียมคดี โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งจากฝ่ายลูกความและบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
- 2. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารว่าลูกความว่ามีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพราะคดีหย่าอาจต้องมีเอกสาร หลักฐานหรือหนังสือ เพื่อแสดงต่อศาลในการสืบพยานด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เช่น สัญญาหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1514 วรรคสอง เป็นต้น
- 3. ตรวจสอบสิทธิ,หน้าที่ ทรัพย์สินทั้งสินสมรสและสินส่วนตัว ,ความเสียหายและดอกเบี้ยจำนวนโดยรวม ทั้งหมดของลูกความและบุคคลฝ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง , บุตร หรือบุคคลอื่นที่มาเป็นคู่ สมรสซ้อน หรือบุคคลอื่นๆ ซึ่งอาจถูกเรียกค่าทดแทนได้ เป็นต้น
- 4. ค้นหาข้อกฎหมาย เช่น มีเหตุฟ้องหย่าเข้าเหตุใดเหตุหนึ่งตามกฎหมายหรือไม่ เป็นต้น คำพิพากษศาลฎีกาที่ เกี่ยวข้อง และอายุความหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีของลูกความ
- 5. ดูแลผลประโยชน์ของลูกความในผลความคืบหน้าของคดีอย่างสม่ำเสมอ
- 6. ให้คำแนะนำปรึกษาในทางกระบวนพิจารณาของศาลและข้อกฎหมายแก่ลูกความอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อ ประกอบการตัดสินใจของลูกความ