การหย่าร้าง
หากชีวิตคู่สมรสของคุณไม่เป็นไปอย่างราบรื่น และความขัดแย้งยังยุติไม่ได้ คุณสามารถให้ ทนายความของTSLช่วยเหลือคุณในการเตรียมการขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับคุณได้ เพราะทนายความของเราจะเป็นตัวแทนให้คุณในชั้นศาลได้ ในกรณีที่มีการขอสิทธิปกครองบุตรหรือการแบ่งทรัพย์สิน
การหย่ากระทำได้ 2 วิธี (ป.พ.พ. ม. 1514)
1. การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ได้แก่ การที่สามี-ภรรยา ตกลงที่จะทำการหย่าขาดจาก
การเป็นสามีภรรยากัน โดยต้องทำเป็นหนังสือ และมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน
(ป.พ.พ. ม. 1514) ถ้าไม่มีหนังสือหย่ามาแสดงต่อนายทะเบียน นายทะเบียนจะไม่รับจดทะเบียนให้
(ม. 18 พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว 2478)
หนังสือหย่าจะต้องแสดงรายการบางอย่างให้ชัดแจ้ง เช่น การอุปการะเลี้ยงดูบุตร การปกครองบุตร
และการจัดแบ่งทรัพย์สิน
การหย่าโดยความยินยอมทำได้ 2 วิธี คือ
1.1 การหย่าในสำนักทะเบียน
คู่สมรสที่ประสงค์จะหย่าขาดจากกัน สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนหย่า คำร้องแบบ ข.
พร้อมหนังสือสัญญาหย่าต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนสถานเอกอัครราชทูต/
สถานกงสุลไทยในต่างประเทศแห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้ เมื่อนายทะเบียนตรวจสอบ
เห็นว่าถูกต้องก็จะรับจดทะเบียนให้และออกใบสำคัญการหย่าให้คู่หย่าฝ่ายละ1 ฉบับ
1.2 การหย่าต่างสำนักทะเบียน
กรณีที่คู่สมรสมีความประสงค์จะจดทะเบียนหย่าต่างแห่ง และต่างเวลากัน
ก็ย่อมทำได้โดยต่างฝ่ายต่างไปยื่นคำร้องขอหย่าพร้อมหนังสือสัญญาการหย่า
ต่อนายทะเบียนคนละสำนักทะเบียน คนละเวลา โดยตกลงว่าคู่หย่าฝ่ายใดจะเป็น
ผู้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนหย่าก่อนที่สำนักทะเบียนใด และจะให้สำนักทะเบียน
ใดเป็นผู้จดทะเบียนให้ การหย่าโดยวิธีนี้จะสมบูรณ์ต่อเมื่อการจดทะเบียน
แห่งที่สองเรียบร้อยแล้ว
- การหย่าโดยคำพิพากษาของศาลเป็นเรื่องของสามี-ภรรยาทั้งสองฝ่าย ไม่สามารถ
จะทำการตกลงหย่ากันได้โดยความยินยอม จึงต้องฟ้องหย่าต่อศาล โดยมีสาเหตุ
แห่งการหย่าตามมาตรา 1516 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5
*โดยทั่วไปแล้ว การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล จะมีคำจำเป็นต่อเมื่อเพียงผ่ายเดียวไม่เห็นยอมต่อการหย่า ไม่คู่สมรสไทยหรือต่างชาติ ซึ่งเป็นเหตุจากความขัดแย้งในการตกลงเรื่องบุตรหรือทรัพย์สิน จึงต้องให้ศาลทำการพิพากษา*
การหย่าร้างระหว่าง ไทย-ไทย
สำหรับคู่สมรสชาวไทย การหย่าโดยยินยอมถือเป็นเรื่องปกติ เพราะมักจะมีการตกลงถึงการแบ่งแยกทรัพย์สินและการปกครองบุตรไว้ก่อนการตัดสินใจ และถือเป็นการลดปัญหาที่อาจนำพามาสู่ครอบครัวได้
การหย่าร้างระหว่าง ชาวต่างชาติ-ไทย
จากที่เกิดการขยายตัวในธุรกิจการท่องเที่ยวของไทย ทำให้มีชาวต่างชาติหลายคนเข้ามาอาศัยและท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้นทุกๆปี เพราะเหตุนี้จึงได้มีการแต่งงานระหว่างชาวไทยและต่างชาติมากขึ้น แต่ทว่าในบางครั้งก็ได้เกิดความไม่ขัดแย้งกันระหว่างคู่สมรสเพราะความต่างทางภาษาและวัฒนธรรม
คู่สมรสฝ่ายไทยมักจะเสนอให้ทำการหย่าโดยยินยอมทั้ง2ฝ่ายหากว่าจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทย เพราะการหย่าโดยยินยอมทั้ง 2ฝ่ายนั้นเป็นผลดีแก่ฝ่ายไทยมากกว่า
คู่สมรสชาวต่างชาติคควรรอบคอบในการตัดสินใจจดทะเบียนหย่าที่ประเทศไทย เพราะบางประเทศอาจไม่ยอมรับทะเบียนการหย่าของประเทศไทย และอาจเกิดปัญหาเมื่อต้องการจะแต่งงานใหม่ได้
การหย่าร้างระหว่าง ชาวต่างชาติ-ชาวต่างชาติ ที่ประเทศไทย
สำหรับคู่สมรสต่างชาติที่ต้องการหย่าที่ประเทศไทยนั้น ควรทำการปรึกษากับทนายความก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าประเทศของคู่สมรสนั้นยอมรับทะเบียนหย่าจากประเทศไทยได้หรือไม่