การซื้อบ้านสำหรับชาวต่างชาติ

การซื้อบ้านสำหรับชาวต่างชาติ

ก่อนตัดสินใจซื้อบ้าน คุณควรรับคำปรึกษาเกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สิน ที่ดินและกรรมสิทธิ์ต่างๆก่อนลงสัญญาซื้อ เพื่อป้องกันปัญหาทางสิทธิในอนาคต ระหว่างการดำเนินขั้นตอนต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1เลือกบ้านที่เหมาะสม

อันดับแรกสุดของการซื้อบ้านคือเลือกทำเลที่เหมาะสมกับชีวิตเรา เพราะหลังจากนี้ไปเราจะต้องอยู่บ้านหลังนี้ไปตลอดชีวิต (หากไม่คิดจะซื้อบ้านใหม่หรือมองแล้วโอกาสจะซื้อบ้านใหม่ไม่ใช่ในสิบปี) ทำเลของบ้านจะเป็นการกำหนดชีวิตไปในตัว เช่นบ้านห่างจากออฟฟิศแค่ไหน ห่างจากจุดที่เหมาะกับรูปแบบชีวิตหรือไม่

บางคนมีออฟฟิศอยู่เขตสามย่าน แต่บ้านที่จะซื้ออยู่เขตบางใหญ่ เดินทางไกลทุกวันก็คงจะสะดวก แม้บ้านจะราคาถูกกว่า พื้นที่เยอะกว่า แต่หากช่างน้ำหนักดูแล้วพบว่าเราต้องเสียเวลาในชีวิตเพื่อเดินทางไปทำงานมากเกินไป คนซื้อก็ต้องมาชั่งน้ำหนักดูอีกทีว่าชีวิตแบบนี้สบายใจหรือไม่ เพราะถ้าซื้อไปแล้วเปลี่ยนคืนไม่ได้

 

ขั้นตอนที่ 2ก่อตั้งบริษัท

สำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการเป็นเจ้าของบ้านในประเทศไทยนั้น ไม่สามารถลงนามตนเองเป็นเจ้าเข้าได้ แต่สามารถก่อตั้งบริษัทจำกัดและลงนามบริษัทเมื่อจดทะเบียน หลังจากที่มีบ้านที่เป็นที่พอใจแล้ว ก็ควรปรึกษาทนายความเกี่ยวกับสัญญาการซื้อขาย แล้วจึงทำการตั้งบริษัทจำกัด นอกจากนี้ก็ควรปรึกษาทนายความเพิ่มเติมในเรื่องภาษีและการดำเนินการ

 

ขั้นตอนที่ 3การซื้อบ้าน

หลังจากเลือกบ้านเสร็จแล้ว ตัดสินใจเสร็จแล้วว่าจะเลือกบ้านที่ทำเลไหน ราคาที่รับได้แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือต้องรู้ว่าค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการซื้อบ้านมีอะไรบ้างนอกจากเงินที่ต้องผ่อนกับธนาคารดังนี้

  • ค่าทำสัญญาหรือเงินจอง : รายจ่ายที่ต้องจ่ายในวันจองบ้านซึ่งเงินค่าทำสัญญากับเงินจองอาจคนล่ะส่วนกัน เงินจองคือเงินที่ต้องจ่ายเป็นเหมือนการมัดจำว่าจองบ้านหลังนี้ ส่วนเงินค่าทำสัญญาซื้อขาย จะเป็นเงินที่จ่ายให้กับทางโครงการก่อนที่จะยื่นกู้กับธนาคาร หากกู้ผ่านและโอนบ้านแล้วเรียบร้อยเงินในส่วนนี้จะถูกคืนมาเต็มจำนวน แต่ถ้ากู้ไม่ผ่านโครงการจะต้องคืนเงิน
  • เงินดาวน์ : เงินที่ต้องจ่ายให้กับโครงการที่เชื่อ (ไม่ใช่เงินที่ผ่อนให้ธนาคารเพราะยังไม่ได้กู้) หลังเราตัดสินใจทำสัญญาซื้อบ้านแล้ว แต่บ้านยังสร้างไม่เสร็จ ผู้ซื้อก็ต้องจ่ายเงินดาวน์ตามจำนวนงวดที่โครงการระบุไว้ในสัญญาจนถึงวันที่บ้านพร้อมโอน เงินดาวน์จะได้คืนก็ต่อเมื่อผู้ซื้อโอนบ้านเป็นของตัวเองแล้ว รวมไปถึงเงินทำสัญญาและเงินจอง ผู้ซื้อจะได้คืนด้วย
  • ค่าโอนบ้าน : ค่าโอนบ้านจะจ่ายก็ต่อเมื่อกู้ธนาคารผ่าน และเงินค่าโอนบ้านนั้นผู้ซื้อกับผู้ขายจะต้องจ่ายกันคนละ 1% ของราคาที่กรมที่ดินประเมิน ถ้าราคาประเมินที่ 2 ล้านบาท วันโอนก็ต้องจ่ายคนล่ะ 10,000 บาท
  • ค่าจดจำนอง : ค่าธรรมเนียมที่ผู้ซื้อต้องจ่ายให้กรมที่ดิน กรณีที่จำนองอสังหาริมทรัพย์โดยคิดจากราคาจำนอง 1% ของเงินที่กู้มา
  • ค่าส่วนกลาง : ค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้อต้องจ่ายแก่นิติบุคคลของโครงการ ส่วนใหญ่จะต้องจ่ายล่วงหน้า 2 – 3 ปี เพื่อจะได้มีเงินบริหารส่วนกลาง
  • ค่ามิเตอร์น้ำไฟ : บ้านทุกหลังจะต้องจ่ายค่ามิเตอร์น้ำไฟเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วไม่อย่างนั้นก็ไม่มีน้ำไฟใช้ ซึ่งค่ามิเตอร์น้ำไฟขึ้นอยู่กับขนาดของมิเตอร์แต่หากบ้านหลังไม่ใหญ่ก็เตรียมเงินไว้ไม่ถึง10,000 บา

ข้อมูลติดต่อของบริษัททีเอสแอล:

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นขอวีซ่าหรือขอบริการด้านกฎหมาย, กรุณาไปที่หน้าติดต่อเรา

นอกประเทศ: +662-026-1913

ในประเทศไทย: 02-026-1913

อีเมล์:Info@tslthailand.com

How can we help you?

Visit us at our TSL Office in Bangkok or contact us by phone or on-line message at: