การจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย

การจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย

ให้ TSL ได้ชวยเหลือคุณในขั้นตอนจดทะเบียนสมรสและการวางแผนการแค่งงานของคุณเพื่อให้ทุกอย่างดำเนินไปอย่างราบรื่น และให้วันที่คุณมีความสุขที่สุดในชีวิตนั้นได้มีความสุขอย่างแท้จริง

  • การจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยระหว่างชาวไทยและชาวต่างชาติ หรือระหว่างคู่รักชาวต่างชาตินั้นสามารถทำได้อย่างรวดเร็วไม่ซับซ้อนแต่อย่างใด TSLสามารถทำดำเนินการจดทะเบียนสมรสให้คุณได้ ณ ทุกสำนักงานอำเภอในทุกๆจังหวัด ในวันและเวลาทำการ ตั้งแต่ 8:00 ถึง 15:00
  • การจะทะเบียนสมรส จำเป็นต้องใช้ หนังสือเดินทางฉบับปัจจุบัน ผู้ที่เคยอดีตสามีหรือภรรยาเสียชีวิตหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น ผู้จดทะเบียนจำเป็นต้องนำหลักฐานของการหย่าหรือมรณะบัตรมาแสดงการยืนยันสถานะโสด หากว่าผู้จดทะเบียนไม่เคยสมรสมาก่อน ก็จำเป็นต้องเตรียมเอกสารแสดงสถานภาพโสดที่ได้รับการรับรองจากสถานทูตของประเทศบ้านเกิดเพื่อยืนยันกับกระทรวงต่างประเทศ
  • รายงานพระราชบัญญัติสำหรับสำนักงานราชการไทย ราคาฉบับละ 1000บาท สถานทูตในกรุงเทพมีค่าใช้ในการรับรองอยู่เสมอ และกระทรวงการต่างประเทศมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อยในการออกใบอนุญาติและการลงทะเบียนเพื่อให้คุณสามารถจะทะเบียน ณ ที่ใดก็ตามในประเทศไทย การแปลเอกสารสำหรับใบรับรองสำหรับการสมรสต่างๆจะมีค่าใช้จ่ายเช่นกัน
  1. อายุไม่ต่ำกว่า17 ปีบริบูรณ์ ต้องนำบิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอม
  2. อายุต่ำกว่า17 ปีบริบูรณ์ต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้สมรสได้
  3. อายุ 20 ปีบริบูรณ์สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง
  4. ฝ่ายชายหรือหญิงต้องมีสัญชาติไทย
  5. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือไร้ความสามารถ
  6. ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือเป็นพี่น้องร่วมแต่บิดามารดา
  7. ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
  8. สามีหรือภรรยาเสียชีวิตหรือสิ้นสุดการสมรสลงได้ประการอื่น
  9. มีบุตร ณ ช่วงเวลาก่อนจดทะเบียน

เอกสารประกอบการยื่นสำหรับคนต่างชาติ

1. หนังสือเดินทางหรือหนังสือการอนุญาตให้เข้าเขตแดนของประเทศใด ประเทศหนึ่ง (Visa)

2. ประเภทเพื่อการท่องเที่ยวหรือประกอบกิจการด้านธุรกิจ

3. หนังสือรับรองสถานภาพของบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุล

 

การจดทะเบียนสมรสมีขั้นตอนดังนี้

1. ให้คนไทยติดต่อสถานทูตนั้นในไทย สอบถามว่าจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ส่วนใหญ่จะใช้ใบรับรองความเป็นโสด

2. นำเอกสารดังกล่าวไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ

3. นำมารับรองที่กองสัญชาติและนิติกร โดยนำเอกสารต้นฉบับ (ภาษาต่างประเทศ) และฉบับที่แปลแล้ว (ภาษาไทย)

4. เตรียมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

5. นำเอกสารไปรับรองที่สถานทูตชาติที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยนำไปใช้ยังต่างประเทศได้

หมายเหตุ

นำเอกสารไปรับรองที่สถานทูตชาติกรณีไม่สามารถดำเนินการได้สามารถทำการมอบอำนาจ

ถ้ามอบอำนาจมาต้องนำหนังสือมอบอำนาจ และ สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบด้วย

สตรีไทยผู้ถือหนังสือเดินทางในชื่อสกุลเดิม เมื่อทำการสมรสตามกฎหมายต่างประเทศสามารถร้องขอให้สอท./สกญ.บันทึกการใช้นามสกุลสามีลงในหนังสือเดินทาง (ปัจจุบันต้องทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่) แต่ต้องแก้ไขข้อมูลในบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านให้ถูกต้อง ในโอกาสแรกที่เดินทางกลับประเทศไทยหากมิได้ดำเนินการแก้ไขและมาขอหนังสือเดินทาง ฉบับใหม่กระทรวงการต่างประเทศจะออกหนังสือเดินทาง โดยใช้คำนำหน้านามและนามสกุลตามข้อมูลที่ปรากฏตามหลักฐานทะเบียนราษฎรเท่านั้น

ข้อมูลติดต่อของบริษัททีเอสแอล:

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นขอวีซ่าหรือขอบริการด้านกฎหมาย, กรุณาไปที่หน้าติดต่อเรา

นอกประเทศ: +662-026-1913

ในประเทศไทย: 02-026-1913

อีเมล์:Info@tslthailand.com

How can we help you?

Visit us at our TSL Office in Bangkok or contact us by phone or on-line message at: