การเริ่มต้นธุรกิจในไทย

การเริ่มต้นธุรกิจในไทย

TSL เป็นเครือข่ายที่มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานเพื่อจดทะเบียนและช่วยก่อตั้งบริษัทไม่ว่าสำหรับคนไทย หรือชาวต่างชาติไม่ว่าเป็นใบอนุญาตประกอบการ ทะเบียนบริษัท หรือใบอนุญาตการทำงาน เราสามารถสนับสนุนการตั้งบริษัทในประเทศไทยและชี้แนะสิ่งที่จะเป็นประโยชน์สำหรับธุรกิจของคุณได้

ประเภทการจดทะเบียนพาณิชย์หรือทะเบียนนิติบุคคล

ทะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา)

สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการแต่เพียงผู้เดียว คิดเอง ทำเอง มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ และมีอิสระในการบริหารเต็มที่ เหมาะกับกิจการขนาดเล็กที่ขายสินค้าหรือบริการง่ายๆ ไม่ซับซ้อน และมูลค่าของกิจการไม่สูงมาก ข้อดีคือได้รับกำไรเต็มๆ และเสียภาษีโดยคำนวณอัตราภาษีหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วเท่านั้น แต่หากธุรกิจเกิดขาดทุนก็ต้องรับผิดชอบทุกอย่างรวมถึงหนี้สินแบบไม่จำกัดเช่นกัน

ทะเบียนนิติบุคคล

สำหรับธุรกิจที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน การกระทำใดก็ตามจะเป็นไปในนามกิจการทั้งหมด โดยมี 3 ประเภทดังนี้

ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ คือ ลักษณะธุรกิจที่ไม่จำเป็นต้องเป็นนิติบุคคล โดยหุ้นส่วนตกลงทำธุรกิจและแบ่งปันกำไรที่ได้จากกิจการ หุ้นส่วนสามารถระดมทุนและมีอำนาจในการบริหารงานร่วมกัน โดยกำไรจะรวมอยู่ในรายได้ของหุ้นส่วนโดยตรง และไม่ต้องนำไปเสียภาษีกิจการ อย่างไรก็ดีการมีอำนาจบริหารและตัดสินใจเรื่องต่างๆ ร่วมกันอาจทำให้ล่าช้ากว่าการเป็นเจ้าของคนเดียว ในกรณีที่ธุรกิจขาดทุนหุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดชอบต่อมูลค่าหนี้ร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวน

ห้างหุ้นส่วนจำกัดคือ ลักษณะธุรกิจที่ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล โดยความรับผิดชอบของหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ผู้ที่รับผิดชอบในหนี้สินแบบ “จำกัด” จะไม่สามารถตัดสินใจในกิจการได้ และผู้ที่รับผิดชอบในหนี้สินแบบ “ไม่จำกัดจำนวณ” ซึ่งจะมีสิทธิในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้ทั้งหมด การเสียภาษีเป็นแบบนิติบุคคล ดังนั้นหากขาดทุนจึงไม่ต้องเสียภาษี

บริษัทจำกัด คือ ลักษณะธุรกิจที่ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล มีผู้ร่วมทุนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป โดยแบ่งเงินลงทุนเป็นหุ้นที่มีมูลค่าต่อหุ้นเท่ากัน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับชอบในหนี้สินต่างๆ จำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระ ซึ่งกิจการแบบนี้ต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และวางแผนการดำเนินธุรกิจแบบรัดกุม และมีการบริหารและตัดสินใจในรูปแบบคณะกรรมการบริษัททำให้เกิดความน่าเชื่อถือ

 

สำหรับชาวต่างชาติ

ซึ่งจะเรียกกันโดยทั่วไปว่า “บริษัทต่างด้าว” หรือ “บริษัทไทยซึ่งคนต่างชาติเป็นเจ้าของ” ซึ่งสามารถเปิดบริษัทและจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทได้เหมือนกับบริษัททั่วไป เพียงแต่ว่าขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้งและข้อมูลประกอบการจดทะเบียนนั้น ยุ่งยากกว่า และเยอะกว่ามาก

 

  1. เริ่มต้นจากประเมินก่อนว่าวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจจะต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวจากสำนักบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือไม่ ถ้าต้องขออนุญาตจะต้องดำเนินการขออนุญาตประกอบธุรกิจให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงเริ่มขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทได้
  2. จัดเตรียมข้อมูลบริษัท เช่น รายชื่อผู้ถือหุ้น หนังสือรับรองบริษัท แผนการดำเนินธุรกิจและแผนการตลาด หนังสือเดินทางที่ได้รับการรับรองโดยสถานทูต หนังสือแต่งตั้งผู้แทนโดยผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล และอื่นๆ
  3. การแปลเอกสารเป็นภาษาไทย
  4. กรอกแบบคำขอ และนำส่งแบบคำขอและเอกสารประกอบต่อกรมพัฒนาธุกิจการค้า
  5. รอการตรวจสอบแบบคำขอ และเอกสารประกอบ จากนั้นเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะเรียกผู้ประกอบการเข้ามาประชุม เพื่อนำเสนอแผนการดำเนินธุรกิจและการทำการตลาด และเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะทำการพิจารณาคำขอจัดตั้งบริษัทอีกครั้ง และในขั้นตอนนี้อาจจะมีการขอข้อมูลเพิ่มเติมตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่
  6. เมื่อเอกสารประกอบคำขอจัดตั้งบริษัท แผนการตลาด และแผนการดำเนินธุรกิจครบถ้วนแล้ว คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวจะพิจารณาเพื่ออนุมัติและออกใบอนุญาต และชำระค่ะธรรมเนียมต่อไป

ระยะเวลาดำเนินการ

ระยะเวลาทั้งสิ้นประมาณ 3-6 เดือน หรือมากกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของบริษัทและการลำดับคิวการพิจารณาเพื่ออนุมัติและออกใบอนุญาตของคณะกรรมการ

ข้อมูลติดต่อของบริษัททีเอสแอล:

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นขอวีซ่าหรือขอบริการด้านกฎหมาย, กรุณาไปที่หน้าติดต่อเรา

นอกประเทศ: +662-026-1913

ในประเทศไทย: 02-026-1913

อีเมล์:Info@tslthailand.com

How can we help you?

Visit us at our TSL Office in Bangkok or contact us by phone or on-line message at: